• : jobperty
  • : +6661-462-9998, +662 101 0476

    DGPA


     

    “ระบบการวิเคราะห์ลายนิ้วมือด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง เป็นการวิเคราะห์ขีดความสามารถ ศักยภาพ และพรสวรรค์ ที่แท้จริงของเรา เป็นแนวทางที่จะช่วยให้เกิดการพัฒนาความสามารถตามบุคลิกลักษณะเฉพาะของเรา”

     

           DGPA หรือ Dermatoglyphics & Gene Potential Analysis คือ ระบบการวิเคราะห์ลายนิ้วมือ ว่าด้วยศาสตร์การวิเคราะห์ลายผิววิทยา เป็นนวตกรรมที่พัฒนาขึ้นมาจากการเก็บสถิติลายนิ้วมือ โดยผ่านการรวบรวมข้อมูลของผู้เข้ารับการทดสอบอย่างเป็นวิทยาศาสตร์นับล้านตัวอย่าง ที่เก็บรวบรวมสถิติไว้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1985 ทั้งในประเทศจีน ญี่ปุ่น เกาหลี ไต้หวัน ฮ่องกง สิงคโปร์ มาเลเซีย อินเดีย และไทย

     

           “ลายนิ้วมือจะอยู่คงที่อย่างไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปตลอดชีวิต เปรียบเสมือนพิมพ์เขียวของมนุษย์ที่สามารถบอกได้ถึงพรสวรรค์ ความถนัด ความสนใจ และความสามารถในการเรียนรู้ รวมไปถึงอารมณ์และลักษณะนิสัยที่เป็นทั้งจุดเด่นและจุดด้อยของแต่ละคน”

     

           “ลายนิ้วมือและสมอง” ของคนเราจะเติบโตและพัฒนาไปพร้อมๆ กัน ลายนิ้วมือจะได้รับการพัฒนาในช่วงการตั้งครรภ์ระหว่างสัปดาห์ที่ 13 ถึง 19 ซึ่งหากนำเทคโนโลยีมารวบรวมข้อมูลของลายนิ้วมือและวิเคราะห์ตามหลักวิทยาศาสตร์แล้ว ก็จะสามารถค้นหาศักยภาพแฝงที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิดได้ และหากค้นพบได้เร็ว ก็จะสามารถเตรียมความพร้อมเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องและส่งเสริมการเรียนรู้ที่เหมาะกับวัย เพื่อพัฒนาศักยภาพของเด็กได้ถูกทางอย่างเต็มที่ บริษัท GWNZ จำกัด นำเสนอเทคโนโลยีที่ช่วยให้ผู้ปกครองทราบถึงความถนัด ความสนใจ ความสามารถในการเรียนรู้ อารมณ์ และลักษณะนิสัยของบุตรหลาน ทั้งนี้เพื่อการช่วยพัฒนาและส่งเสริมความสามารถที่มีติดตัวมาตั้งแต่กำเนิด

     
      
     

    ประโยชน์ที่ได้รับจาก DGPA

     

    สำหรับผู้ปกครอง

    ● สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับบุคลิกลักษณะและศักยภาพของบุตรหลาน

    ● ช่วยพัฒนาประสิทธิภาพในการสร้างความสัมพันธ์กับเด็กๆ

    ● ช่วยเพิ่มพูนความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองกับบุตรหลานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

    ● ทราบถึงแนวทางที่ดีที่สุดสำหรับสไตล์การเรียนรู้และรูปแบบการเรียนรู้ของบุตรหลาน

    ● ช่วยให้ผู้ปกครองมีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในตัวบุตรหลาน

    ● ลดช่วยลดต้นทุนค่าใช้จ่ายสำหรับการส่งบุตรหลานเข้าเรียนหลักสูตรต่างๆ ที่ไม่ตรงตามศักยภาพต้นกำเนิด

    ● ช่วยให้ผู้ปกครองสามารถตัดสินใจส่งบุตรหลานเข้าเรียนในสถาบันการศึกษาและหลักสูตรการพัฒนาทักษะต่างๆ ที่สอดคล้องกับศักยภาพต้นกำเนิดและความสนใจตามธรรมชาติของเด็ก

    ● เข้าใจความเป็นอัจฉริยภาพของบุตรหลาน เข้าใจถึงพรสวรรค์ ความถนัด ความสนใจ และความสามารถในการเรียนรู้ เข้าใจในจุดแข็งและจุดอ่อน

    ● ช่วยให้ผู้ปกครองมีแนวทางในการส่งเสริมและเติมเต็มการพัฒนาศักยภาพของบุตรหลานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
     

    สำหรับเด็กและวัยรุ่น

    ● ทราบถึงแนวทางในพัฒนาความสามารถของตนเองตามศักยภาพต้นกำเนิด

    ● มีแนวทางในการเลือกเส้นทางอาชีพในอนาคต

    ● ทราบเกี่ยวกับพรสวรรค์ ความถนัด ความสนใจ และความสามารถในการเรียนรู้ของตนเอง

    ● ช่วยในการควบคุมอารมณ์และปรับปรุงลักษณะนิสัยที่บางประการ

    ● ลดความเครียด

    ● นำไปสู่ความสำเร็จทางอาชีพและความสุขในชีวิตครอบครัว
     

    สำหรับวัยผู้ใหญ่

    ● ทราบเกี่ยวกับจุดแข็ง ความถนัด หรือความสามารถพิเศษของตนเอง

    ● ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจในการพัฒนาทักษะความสามารถของตนเอง

    ● สามารถนำไปใช้ในการประเมินศักยภาพของทั้งตนเองและบุคคลอื่นบุคคล

    ● ช่วยแนะแนวทางในการพัฒนาทักษะและเส้นทางอาชีพที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

    ● ช่วยให้สื่อสารกับผู้คนรอบข้างได้ดียิ่งขึ้น

    ● ช่วยในการความสัมพันธ์กับคู่รักให้ยั่งยืน
     

    สำหรับนายจ้างหรือสถานประกอบการ

    ● ช่วยให้สามารถคัดกรองคนเข้าทำงานได้ดียิ่งขึ้น

    ● เข้าใจถึงความสามารถของบุคลากรที่ควรส่งเสริมและพัฒนา

    ● สามารถนำไปใช้ในการคัดเลือกคู่ค้าทางธุรกิจ หรือหุ้นส่วนทางธุรกิจที่มีประสิทธิภาพ
     

    DGPA เหมาะสำหรับใครบ้าง

    เด็กช่วงปฐมวัย (อายุ 1 - 4 ปี)

           เด็กช่วงปฐมวัยสมองจะมีการเติบโตอย่างเต็มที่ เด็กในวัยนี้จะมีการเชื่อมโยงและสะสมข้อมูลต่างๆ ลงในสมอง ดังนั้นประโยชน์ของการวิเคราะห์เส้นลายผิวด้วยระบบ DGPA จะช่วยให้ผู้ปกครองตัดสินใจได้ถูกต้องเกี่ยวกับวิธีการในเลี้ยงดูและการให้การศึกษาที่ถูกต้องเหมาะสมกับเด็ก เป็นการเตรียมความพร้อม และส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพของเด็กในขั้นต่อไป
     


     

    เด็กเล็ก (อายุ 4 – 12 ปี)

           สมองจะเริ่มลดเส้นใยสมองส่วนที่ไม่ได้รับความสนใจลง ประโยชน์ของการวิเคราะห์ DGPA ในช่วงอายุนี้ จะช่วยให้ผู้ปกครองเข้าใจและออกแบบการเรียนรู้ที่ดึงดูดให้เด็กเกิดความสนใจ เพื่อให้เด็กสามารถดูดซับองค์ความรู้และทักษะต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะเป็นประโยชน์เมื่อเด็กเติบโตขึ้น การค้นพบสไตล์การเรียนรู้และพื้นที่ของสติปัญญาในช่วงอายุนี้ จะช่วยให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับการให้การศึกษาและกิจกรรมที่เด็กควรจะได้รับมากกว่าในช่วงอายุอื่นๆ
     


     

    วัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่แรกเริ่ม (อายุ 12 – 25 ปี)

           ในอายุช่วงวัยรุ่นจะเป็นช่วงที่สมองจะลดเส้นใยสมองส่วนที่ไม่ได้รับการใช้งานลง ดังนั้นจึงเป็นระยะที่สมองเริ่มจะสร้างความเชี่ยวชาญและสร้างอัตลักษณ์ส่วนบุคคลขึ้นมา ประโยชน์ของการวิเคราะห์ DGPA ในช่วงนี้จะช่วยให้ทราบว่า หากต้องการจะยกระดับการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น บุคคลนั้นควรได้รับการส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยแนวทางและบทเรียนแบบใด

     

    วัยผู้ใหญ่ (อายุ 25 ปีขึ้นไป)

           ช่วงวัยผู้ใหญ่เป็นช่วงที่สมองมีการเจริญเติบโตน้อยมากหรือเรียกได้ว่าเป็นระยะที่หยุดการเจริญเติบโต ดังนั้นจะเป็นช่วงที่ศักยภาพทางสมองที่ไม่ได้รับการใช้งานอย่างถูกต้องจะถูกลดระดับลง ประโยชน์ของการวิเคราะห์ DGPA ในช่วงระดับอายุนี้ จะช่วยเปิดเผยให้ทราบเกี่ยวกับจุดแข็ง ความถนัด หรือความสามารถพิเศษ ซึ่งจะช่วยแนะแนวทางในการพัฒนาทักษะและเส้นทางอาชีพที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้การเข้าใจตนเองอย่างลึกซึ้งมากขึ้น จะช่วยให้สื่อสารกับผู้คนรอบข้างได้ดียิ่งขึ้น สำหรับนายจ้างหรือสถานประกอบการจะช่วยให้สามารถคัดกรองคนเข้าทำงานได้ดียิ่งขึ้น รวมถึงจะทำให้เข้าใจถึงความสามารถของบุคลากรที่ควรส่งเสริมและพัฒนาเพื่อยกระดับประสิทธิภาพโดยรวมขององค์กร

     

    สิ่งที่ทำให้ระบบการวิเคราะห์
    ด้วยนวัตกรรม DGPA มีประสิทธิผล

           เนื่องจากเด็กทุกๆ คนจะมีพรสวรรค์ ความถนัด ความสนใจ และความสามารถในการเรียนรู้ที่มีลักษณะเฉพาะตัวและแตกต่างกันออกไป ดังนั้นการทดสอบด้วยระบบ DGPA จะเป็นการใช้วิธีการพิสูจน์ที่เป็นวิทยาศาสตร์ มีความถูกต้องสูงกว่า 90% การวิเคราะห์ลายนิ้วมือด้วยระบบ DGPA ช่วยให้ค้นพบศักยภาพต้นกำเนิด จะทำให้เข้าใจบุคลิกลักษณะของบุคคล ที่เป็นปัจจัยกำหนดให้บุคคลมีการแสดงออกทางบุคลิกภาพแตกต่างกัน สไตล์การเรียนรู้ตามความถนัดของบุคคล ซึ่งเป็นสิ่งที่ซ่อนอยู่ตามธรรมชาติของบุคคล รูปแบบหรือวิธีการเรียนรู้ขั้นพื้นฐานอย่างน้อย 3 สไตล์ถูกระบุอยู่ในผล DGPA ได้แก่ การเรียนรู้จากการมอง (A VISUAL LEARNER) การเรียนรู้จากการฟัง (AN AUDITORY LEARNER) และการเรียนรู้จากการทำ (A KINESTHETIC LEARNER)

    ● เด็กที่มีรูปแบบการเรียนรู้ในแบบการมอง จะชอบที่จะเรียนโดยผ่านรูปภาพกราฟฟิค หรืออุปกรณ์ช่วยสอนที่เป็นรูปภาพ การอ่าน และการสำรวจ

    ● เด็กที่มีรูปแบบในการเรียนรู้ในแบบการฟัง จะเรียนรู้ได้ดีที่สุดผ่านการฟัง การพูดและการซักถาม

    ● เด็กที่มีรูปแบบการเรียนรู้ในแบบการทำ จะเรียนรู้การเรียนรู้ผ่านการสัมผัสและเคลื่อนไหวของร่างกาย และจะเรียนรู้ได้ดีที่สุดผ่านการลงมือปฏิบัติจริงตามกิจกรรมต่างๆ

     

     

           อัจฉริยภาพ 8 ด้าน ทฤษฎีพหุปัญญาหรือพหุปัญญา 8 ประการ (THEORY OF MULTIPLE INTELLIGENCES) ถูกคิดค้นขึ้นในปี คศ. 1983 โดยนักจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (HARVARD UNIVERSITY) ศาสตราจารย์ ดร.โฮวาร์ด การ์ดเนอร์ (DR. HOWARD GARDNER) ทฤษฎีนี้ชี้ชัดให้เห็นถึงความฉลาด และแจกแจงวิธีวัดความฉลาดว่าเป็นวิทยาศาสตร์อย่างแท้จริง ทฤษฎีของ ดร.โฮวาร์ด อธิบายว่า ความฉลาด หรือสติปัญญาของมนุษย์ ที่เราเรียกว่า “ไอคิว” (IQ - INTELLIGENCE QUOTIENT) นั้นไม่เพียงพอที่จะชี้นำไปสู่การแสดงความสามารถของมนุษย์ มนุษย์ทุกคนมีความสามารถในด้านต่างๆที่แฝงอยู่ภายใน ซึ่งแต่ละบุคคลล้วนมีความสามารถทั้ง 8 ด้านอยู่ในตัว และเชาวน์ปัญญาแต่ละด้านเป็นสิ่งที่ทุกคนสามารถพัฒนาได้

     

    อัจฉริยภาพทั้ง 8 ประการ ประกอบด้วย

    1. ความสามารถด้านมนุษยสัมพันธ์และการปฏิสัมพันธ์ต่อผู้อื่น (INTERPERSONAL INTELLIGENCE)

    2. ความสามารถด้านการเข้าใจตนเองและปฏิสัมพันธ์ต่อตนเอง (INTRAPERSONAL INTELLIGENCE)

    3. ความสามารถด้านตรรกะและคณิตศาสตร์ (LOGICAL-MATHEMATICAL INTELLIGENCE)

    4. ความสามารถด้านมิติสัมพันธ์และจินตภาพ (VISUAL-SPATIAL INTELLIGENCE)

    5. ความสามารถด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว (BODILY-KINESTHETIC INTELLIGENCE)

    6. ความสามารถด้านานถ้อยคำและภาษา (LINGUISTIC INTELLIGENCE)

    7. ความสามารถด้านการเข้าใจธรรมชาติ (NATURALIST INTELLIGENCE)

    8. ความสามารถด้านด้านดนตรี (MUSICAL INTELLIGENCE)

     

    GROW NZ CO., LTD. บริษัท โกรว์ เอ็น แซด จำกัด ศูนย์แนะแนวการศึกษาต่อประเทศนิวซีแลนด์ โทร 0 2101 0476